"สิ่งที่ค้างอยู่ในใจ" Xuanzang (เสวียนจ้าง) (ชมคลิปพิเศษจากหนัง)
Xuanzang (เสวียนจ้าง) เป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ แต่ยังมีสิ่งที่ค้างอยู่ในใจ คือการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป โดยได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย มีชื่อว่า "ต้าถังซีโหยวจี้"
Xuanzang (เสวียนจ้าง) หรือ เหี้ยนจึง หรือสำเนียงกลางว่า เสวียนจั้ง (ประมาณ ค.ศ. 602 - 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 664) หรือที่รู้จักในนิยายไซอิ๋วว่า ถังซัมจั๋ง เป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ แต่ยังมีสิ่งที่ค้างอยู่ในใจ คือการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1189 (ค.ศ. 646) มีชื่อว่า "ต้าถังซีโหยวจี้" แปลว่า "จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" โดยในนั้นเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหารและการเมืองการปกครอง
หนังสือ "ต้าถังซีโหยวจี้" ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 โดย ซิว ซูหลุน ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ) ความยาว 12 บรรพ จำนวนรวม 520 หน้า ชื่อภาษาไทยว่า "ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง"
" ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทาง สู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" เป็นมหากาพย์การเดินทางเมื่อ 1,357 ปีมาแล้ว แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโบราณ เป็นภาษาไทยฉบับสมบูรณ์เป็นครั้งแรก เป็นบันทึกการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิกฎที่อินเดียของพระถังซำจั๋ง พระภิกษุจีนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของชาวพุทธทั่วโลก บันทึกเล่มนี้พระถังซำจั๋งเป็นผู้จดบันทึกและพระภิกษุเปี๋ยนจีเป็นผู้เรียบเรียงในรัชสมัยจักรพรรดิถังไถ่จงในยุคราชวงศ์ถัง และเสร็จสิ้นลงในปี ค.ศ. 646 ปัจจุบันมีอายุได้ 1,356 ปีแล้ว
ในประเทศไทยเอง มีอารามวัตรมหายาน มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย พุทธมลฑลสาย 6 ได้จัดสร้างรูปหล่อของพระเสวียนจั้ง ลักษณะจาริกแบกพระไตรปิฎกไว้บนบ่า ประดิษฐานอยู่หน้าหอพระไตรปิฎกพระราชทาน ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระไตรปิฎกฉบับหลงจั้ง ไว้ ณ ที่นี่ โดย ท่านหญิง (หม่อมเจ้า) มาลินีมงคล ยุคล อมาตยกุล ได้ทรงเป็นประธานเททองไว้ ณ อารามวัตรมหายาน มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย
ชมคลิปพิเศษจากหนัง "Xuanzang (เสวียนจ้าง) บุรุษพุทธานุภาพ (รู้ทุกข์วิธีดับทุกข์)"