เหรียญที่ระลึก: เหรียญ 50 บาท 150 ปี โรงกษาปณ์ (นิเกิล) | BoomerangShop.com - Thailand Online Blu-Ray, DVD, CD Store

Browse

Newsletter

Keep up-to-date with new releases and great offers

เหรียญที่ระลึก: เหรียญ 50 บาท 150 ปี โรงกษาปณ์ (นิเกิล)

Format: Coin
UPC:
Product Status
Shipping & Pickup
Checking stock...
  • SRP (Baht) : 499.00
  • Our Price (Baht) : 499.00
Click to see shopping cart
details or checkout.
  • Release Date : 00/00/0000
  • Credits
    • Synopsis :
      เหรียญ 50 บาท 150 ปี โรงกษาปณ์ ปี 2553

      เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 150 ปี โรงกษาปณ์

      เพื่อเป็นที่ระลึกและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงโปรดให้ก่อตั้งโรงกษาปณ์สิทธิการ

      ซึ่งเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกที่ตั้งขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ในปี พ.ศ. 2403 เพื่อผลิตเงินเหรียญแบนตามลักษณะสากลนิยม

      ส่งผลให้โรงกษาปณ์มีบทบาทความสำคัญ ต่อระบบเงินตราและเศรษฐกิจของประเทศสืบเนื่องมาเป็นเวลานาน และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จวบจนรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน

      รายละเอียด

      ด้านหน้า - กลางเหรียญ มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย

      ทรงฉลองพระองค์สักหลาดพื้นดำปักดิ้นทอง ทรงพระมหาสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ ประดับดาราไอราพตดารานพรัตน

      ทรงสายสะพายพร้อมดาราเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์ลอดร์ นาซิยอนาล เดอ ลา เลฌียง ดอเนอร์ (L' Ordre National de la Legion d' Honneur) ชั้นกร็องครัว (Grand Croix) ของฝรั่งเศส

      และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ

      ทรงสายสะพายและสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ประดับดาราจักรีและสายสร้อยจุลจอมเกล้า

      ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"

      ด้านหลัง - กลางเหรียญมีรูปโรงกษาปณ์ปัจจุบัน เบื้องบนรูปโรงกษาปณ์ปัจจุบันมีข้อความว่า "โรงกษาปณ์" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย"

      โดยมีลายดอกประจำยามคั่น ระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่าง โดยรอบรูปโรงกษาปณ์ปัจจุบันมีรูปโรงกษาปณ์แห่งแรก โรงกษาปณ์แห่งที่สอง โรงกษาปณ์แห่งที่สาม และโรงกษาปณ์แห่งที่สี่




Go to TOP